การจัดการความรู้ของสถาบันวิจัยและพัฒนา

เมื่อพูดถึงการจัดการความรู้ หรือ KM หลายท่านคงนึกถึงเรื่องของการรวบรวมเอาความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆมารวมไว้ในที่เดียวกัน มีการสร้างช่องทางและเงื่อนไขให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานของบุคคลหรือองค์กรให้สัมฤทธิผล สำหรับสถาบันวิจัยและพัฒนา หรือ สวพ.ได้ให้ความสำคัญเรื่อง KM ที่ถือเป็นกลไกสำคัญในการรวบรวมผลงานวิจัย และผลงานบริการวิชาการของบุคคลและหน่วยงานของ สวพ.และ มหาวิทยาลัย โดยการ  บูรณาการบทบาทต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น การเรียนการสอน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้อยู่ร่วมกับบทบาทของงานวิจัยและบริการวิชาการอย่างลงตัว สื่อสำคัญในการสื่อสารงาน KM ของ สวพ.นั้น ได้มีการบริหารผ่านทางเว็บไซต์ การจัดการความรู้สถาบันวิจัยและพัฒนา (http://decade1.ird.rmutp.ac.th/km/) ของ สวพ. ถือเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลที่สำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญซึ่งมาจากประสบการณ์ของผู้รู้หลากหลายหน่วยงาน และมีการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ KM-ird-57

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษา

สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) มีพันธกิจหลักประการหนึ่งคือการส่งเสริมการสร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคการผลิตและบริการในระดับชาติ ทั้งงานวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย โครงการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อคนรุ่นใหม่ จึงเป็นโครงการที่จัดสรรงบประมาณเพื่อให้การสนับสนุนและส่งเสริมการทำปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ แผนงานพิเศษ โครงการวิจัย โครงงานพิเศษ แผนงานเฉพาะบุคคลแก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรีภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ซึ่งดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของนักศึกษา และเผยแพร่ในระดับชาติ   กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้-การส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมของนักศึกษา-2557

การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาป่านศรนารายณ์

การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาป่านศรนารายณ์ กลุ่มป่านศรนารายณ์ สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด ประสบปัญหาการมีเศษป่านสดที่เหลือจากการแยกเส้นใยและเศษป่านส่วนที่แห้ง เหลือจากการสางเส้นใย ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนเส้นใยป่านที่ถักเปียเมื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มีความแข็งกระด้าง ระคายเคืองต่อเสื้อผ้าและร่างกายผู้ใช้ รวมทั้งปัญหาเรื่องเทคนิคการย้อมเส้นใยที่ใช้แบบดั้งเดิมมานาน ไม่มีความแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ ในการศึกษาข้อมูลพื้นที่ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้นำองค์กรท้องถิ่นและมหาวิทยาลัย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยบูรณาการผลของงานวิจัยและงานบริการวิชาการเข้าด้วยกันอย่างลงตัวตามวงจร คุณภาพ PDCA คือขั้นวางแผนการดำเนินงาน ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นตรวจสอบ และขั้นนำไปใช้ ทำให้เกิดผลงานของกระบวนการย้อมป่านศรนารายณ์แบบสีรุ้ง มีการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อลดความกระด้างของเส้นใย และมีการพัฒนาเศษป่านเหลือใช้เป็นกระดาษและบรรจุภัณฑ์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์ ของมหาวิทยาลัย นักศึกษา และชุมชน ช่วยให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการลดมลภาวะด้านกลิ่น ส่งผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จเกิดจากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ ความร่วมมือในการทำงานแบบบูรณาการระหว่างชุมชน ผู้นำองค์กรท้องถิ่น และมหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญของชุมชนด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น Continue reading การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษาป่านศรนารายณ์

ยำเปลือกแตงโมง และ ปลาหมึกต้มหวาน องค์ความรู้จากเมืองเพชรบุรี

ศูนย์การจัดการความรู้ สถาบันวิจัยและพัฒนา  มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากเมืองเพชรบุรี มาฝากค่ะ  โดยเป็นการเรียบเรียงจากผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ  รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยเรื่องราวองค์ความรู้ครั้งนี้ ได้รับการถ่ายทอดจากป้า ๆ จากชาวเมืองเพชรบุรีค่ะ และสามารถติดตามเรื่องราวแบบนี้ได้ที่ คลังความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  จากเว็บไซต์ ศูนย์การจัดการความรู้ สถาบันวิจัยและพัฒนา ค่ะ ยำเปลือกแตงโม : กับข้าวโบราณชาวเมืองเพชร ปลาหมึกต้มหวาน : สูตรชาวเมืองเพชรบุรี

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๗

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก โปรดดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุขเกษมสำราญ และสัมฤทธิ์ผลในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ รักษาราชการแทนอธิการบดี ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร)

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการจัดทำคู่มือการบริการวิชาการ ครั้งที่ 2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ  พีรพัชระ  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องแผนการดำเนินงานบริหารจัดการงานบริการวิชาการและขั้นตอนการดำเนินโครงการบริการวิชาการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการทำคู่มือการบริการวิชาการ  มทร.พระนคร รวมถึงการเสนอแนะ และการแก้ไขปัญหา ในแผนการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินโครงการบริการวิชาการดังกล่าว โดยมีสมาชิกกลุ่มบริการวิชาการ และนักวิจัย ของสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556  ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.พระนคร

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมไว้อาลัยแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมไว้อาลัยแด่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ผู้บริหารและบุคลากรพร้อมใจแต่งกายชุดขาว – ดำ มีกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 – 23 พฤศจิกายน 2556